วันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2557


 

                            สรุปชุดเครื่องมือที่ 1-9 “ผู้บริหารยุคใหม่ ไทยเข้มแข็ง

  เอกสารอบรมผู้บริหารฯ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (สพฐ.)  (มาจากชุดเครื่องมือที่ 6  เป็นเอกสารที่ใช้ในการอบรมผู้บริหารสถานศึกษา)                                                                                        


การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง

1.             ปัจจัยด้านระบบ (System) เช่น ระบบการทำงาน เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน

2.             ปัจจัยด้านบุคคล (People) เช่น ความรู้ ความสามารถ ทักษะ

เหตุผลที่มีการเปลี่ยนแปลง

1.             องค์การมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง  (ควบรวมหรือลดขนาดหน่วยงาน) เช่น

-                   ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก

-                   การตั้งสถานศึกษายุคใหม่ภายใต้โครงการโรงเรียนดีประจำตำบลจากการร่วมมือของ สพฐ.และ อบต.

2.             องค์การมีการเพิ่มบทบาทหน้าที่และบริการใหม่ (เพิ่มจากเดิม)  เช่น

-                   การเข้าร่วมโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

3.             องค์การมีการเปลี่ยนผู้บริหาร

-                   การโยกย้ายผู้อำนวยการสถานศึกษา

4.             องค์การต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เช่น

-                   โครงการส่งเสริมการใช้ Open Source ในสถานศึกษา

-                   การจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา (National Education Network ตัวย่อ NedNet)

-                   การใช้ระบบ e-office และ e-learning

  

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่อองค์การ

1.             เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ (Structure Change) เช่น

-                   ทำงานเป็นทีมมากขึ้น ลดการบังคับบัญชาแบบสายงานจากบนลงล่างให้น้อยลง

2.             เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องบุคลากรในองค์การ (People Change) เช่น

-                   การเปลี่ยนระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

-                   การเปลี่ยนระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

3.             เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน (Process Change) เช่น

-                   การเปลี่ยนกระบวนการในการออกใบอนุญาต

-                   การเปลี่ยนวิธีการในการจัดการกับการบริการให้กับประชาชน

-                   การเปลี่ยนกระบวนการตัดสินใจต่างๆในองค์การ

4.             เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมองค์การ (Cultural Change) เช่น

-                   เปลี่ยนเป็นองค์การที่มุ่งเน้นการให้บริการประชาชน (Citizen-centric Organization)

 

ผู้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลง

1.             ผู้อุปถัมภ์การเปลี่ยนแปลง (Change Sponsor) คือ ผู้มีอำนาจอนุมัติการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

2.             ผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง (Change Advocate) คือ ผู้ให้การสนับสนุนโดยการสื่อสารความสำคัญและเนื้อหาของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ส่วนต่างๆขององค์การ รวมทั้งช่วยในการรับข้อมูลและข้อคิดเห็นจากผู้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงและสื่อสารกลับไปให้ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงทราบ

3.             ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) คือ ผู้วางแผนและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งควบคุมดูแลการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้ประสานงานและตัวกลางในการสื่อสารกับทุกฝ่าย

4.             ผู้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (Change Target) คือ ผู้ที่ต้องถูกเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง ได้แก่ อาจเปลี่ยนตำแหน่ง หน้าที่ กระบวนการทำงาน ทัศนคติ เป็นต้น

 
ตัวอย่างผู้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

บทบาท                                     ส่วนราชการ
หน่วยงานระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ผู้อุปถัมภ์การเปลี่ยนแปลง (Change Sponsor)
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง (Change Advocate)
รองผอ.เขตฯ และ ศึกษานิเทศก์ในสพท.
ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ผู้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (Change Target)
ครูทุกคนในโรงเรียน




ตัวอย่างผู้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษา

บทบาท                                     ส่วนราชการ
หน่วยงานระดัสถานศึกษา
ผู้อุปถัมภ์การเปลี่ยนแปลง (Change Sponsor)
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง (Change Advocate)
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และหัวหน้างาน
ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
ครูทุกคนในโรงเรียน
ผู้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (Change Target)
นักเรียนทุกคนในโรงเรียน

การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง

1.             มีผู้บริหารที่มีความสามารถได้รับการยอมรับ

2.             สมาชิกในหน่วยงานมีความรู้สึกต้องการการเปลี่ยนแปลง

3.             ไม่มีโครงสร้างการบริหารหลายระดับชั้นและสมาชิกคุ้นเคยกับการทำงานร่วมกัน

 
กระบวนการวางแผนการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ มี 5 ขั้นตอน คือ

1.             การสร้างทีมเจ้าภาพ <หมายถึง สร้างผู้รับผิดชอบในการวางแผนการเปลี่ยนแปลง>

2.             การพัฒนาวิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนแปลง <หมายถึง พัฒนาภาพในอนาคตที่ทุกคนต้องการเห็นเมื่อการเปลี่ยนแปลงสิ้นสุดลง>

ปล. ในกระบวนการนี้ วิธีที่นิยม คือ เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนแปลง โดยให้บุคลากรได้ตอบคำถามในใจตนเองว่า “1)ทำไมต้องมีการเปลี่ยนแปลง 2)เปลี่ยนแปลงเพื่ออะไร 3)ภายหลังการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการเห็นคืออะไร

3.             การวางแผนและการกำหนดตัวชี้วัด <หมายถึง กำหนดกิจกรรมงานหรือการเปลี่ยนแปลงใดๆที่ทำให้ภาพในอนาคตเป็นจริง>

ปล. ในกระบวนการนี้ มีเครื่องมือสมัยใหม่ที่นิยม คือ Force Field Analysis หรือ การทำการวิเคราะห์ปัจจัยสำเร็จและต่อต้าน จากเครื่องมือนี้เป็นการตอบคำถาม 3 ข้อ ดังนี้

1)อะไรบ้างที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง 2)อะไรบ้างที่จะเป็นอุปสรรคกีดขวางการเปลี่ยนแปลง 3)จะก้าวข้ามอุปสรรคนั้นได้อย่างไร

4.             การพัฒนาโครงสร้างที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง <หมายถึง การพัฒนาโครงสร้าง 3 ประการ ได้แก่บุคลากร, ระบบการให้รางวัล, การทำงานเป็นทีม>

ปล. ลักษณะทีมงานของการเปลี่ยนแปลง คือ 1)สมาชิกในทีมมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน2)ทีมมีเป้าหมายร่วมกัน

5.             ดำเนินการและหยั่งรากการเปลี่ยนแปลง <หมายถึง ดำเนินการใน 4 ประการ ได้แก่

(1)สื่อสารอย่างต่อเนื่อง (2)ลดแรงต้าน สร้างแรงสนับสนุน (3)ฉลองชัยชนะระหว่างทาง (4) สร้างความสำเร็จที่เกิดขึ้นให้ยั่งยืนด้วยการใช้นโยบาย ระบบ และโครงสร้างขององค์การ>

ปล. จากข้อ (2)ลดแรงต้าน สร้างแรงสนับสนุน ได้กล่าวถึง ขั้นตอนอารมณ์ของบุคคลที่เผชิญกับการเปลี่ยนแปลง มี 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1) ตกใจและปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง

2) โกรธและต่อต้าน 3)รับรู้และทดลองปฏิบัติตาม 4)ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัว

 
รูปแบบภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change Model of Leadership ตัวย่อSCML) คือ การพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ประกอบด้วยค่านิยมสำคัญ 7 ประการ (The 7 C’s Values)

1.             ความเข้าใจในตนเอง (Consciousness of Self)

2.             การกระทำที่สอดคล้องทุกด้านภายในตน (Congruence)

3.             ความยึดมั่นผูกพัน (Commitment)

4.             ความร่วมมือร่วมใจ (Collaboration)

5.             การมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน (Common Purpose)

6.             สามารถขัดแย้งกันได้แต่ต้องสุภาพ (Controversy with Civility)

7.             ความสำนึกในความเป็นสมาชิกหรือความเป็นพลเมือง (Citizenship)

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น